FUTURE FOOD & FUTURE CROP

อาหารอนาคต (Future Food) เป็นอาหารเพื่อมวลมนุษยชาติ แบ่งได้ 4 กลุ่ม คือ

  • อาหารเสริมสุขภาพหรืออาหารฟังก์ชั่น (Functional Food) วิวัฒนาการเพื่อผู้บริโภคในยุคสมัยแห่งการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีคุณค่าเพื่อบำรุงรักษาร่างกายเพื่อชีวิตที่ดี อายุยืนยาว นวัตกรรมอาหารเสริมสุขภาพ โดยเพิ่มส่วนผสมใหม่หรือส่วนผสมที่มีอยู่แล้ว เพื่อเพิ่มความสามารถของกลไกในร่างกายในการดูแลสุขภาพหรือป้องกันโรค ประโยชน์ต่อสุขภาพของผู้บริโภค ปรับปรุงระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ปรับปรุงระบบและสภาพการทำงานของร่างกาย ชะลอการเสื่อมโทรมของอวัยวะต่างๆจากการสูงอายุ ป้องกันโรคต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากภาวะโภชนาการผิดปกติ บำบัดหรือลดอาการของโรคที่เกิดจากความผิดปกติของร่างกาย
  • อาหารทางการแพทย์ (Medical Food) ตอบสนองด้านการรักษาด้วยนวัตกรรมอาหารแห่งอนาคตที่ใช้ทดแทนยาหรืออาหารเสริมเพื่อการรักษา ฟื้นฟูและดูแลผู้ป่วย นวัตกรรมอาหารเพื่อตอบสนองด้านการแพทย์โดยใช้เป็นโภชนบำบัด ผลิตเป็น อาหาร หรือ เครื่องดื่ม ทดแทนหรือเสริมอาหาร รูปแบบของอาหาร ใช้รับประทานหรือดื่มแทนอาหารหลัก ดื่มเพื่อเสริมอาหารบางมื้อ หรือเป็นอาหารทางสายกลาง กลุ่มเป้าหมาย ผู้ป่วยเฉพาะโรค ผู้ที่ไม่สามารถรับประทานอาหารปกติได้อย่างเพียงพอ หรือร่างกายอยู่ในภาวะที่ต้องการสารอาหารบางอย่างมากหรือน้อยเป็นพิเศษ สารอาหารที่มีในอาหารทางการแพทย์ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมันดี วิตามินและเกลือแร่
  • อาหารอินทรีย์ (Organic Food) ตอบสนองผู้บริโภคยุคใหม่ที่ตระหนักถึงคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารตลอดจนวัตถุดิบและส่วนผสมต่างๆ นวัตกรรมจากผลิตผลทางการเกษตรที่ไม่ใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร และไม่ใช่สายพันธุ์ที่ตัดต่อพันธุกรรม อาหารอินทรีย์ คือ ส่วนประกอบทุกอย่างล้วนมาจากธรรมชาติ อาหารอินทรีย์จะไม่มีการใช้สารเคมีใดๆ ไม่ก่อให้เกิดมลพิษในกระบวนการผลิต การปศุสัตว์แบบเกษตรอินทรีย์จะต้องเลี้ยงด้วยอาหารสัตว์ชนิดเกาตรอินทรีย์ ห้ามเจือปนอาหารจากแหล่งอื่น และห้ามใช้ยาปฏิชีวนะ
  • อาหารที่ผลิตขึ้นมาใหม่ทางนวัตกรรม (Novel Food) อาหารยุคใหม่ที่เปลี่ยนวิถีแห่งความเป็นอยู่ การบริโภคแบบใหม่ด้วยรูปแบบการผลิตที่เปลี่ยนไปจากเดิม นวัตกรรมอาหารที่ได้จากพืชหรือสัตว์ที่ไม่ได้ใช้เทคนิคการผลิตแบบดั้งเดิม เป็นอาหารที่มีการปรับแต่งโดยกระบวนการผลิตแบบใหม่ วัตถุที่ใช้เป็นอาหารหรือเป็นส่วนประกอบของอาหารที่ปรากฎหลักฐานทางวิชาการว่ามีประวัติการบริโภคเป็นอาหารน้อยกว่า 15 ปี วัตถุที่ใช้เป็นอาหารหรือเป็นส่วนประกอบของอาหารที่ได้จากกระบวนผลิตที่มิใช่กระบวนการผลิตโดยทั่วไปของอาหารนั้นๆ ที่ทำให้ส่วนประกอบของ อาหาร โครงสร้างของอาหาร หรือรูปแบบของอาหารนั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลต่อคุณค่าทางโภชนาการ กระบวนการทางเคมีภายในร่างกายของสิ่งมีชีวิตหรือเมแทบอลิซึม (Metabolism) หรือระดับของสารที่ไม่พึงประสงค์ (Level of undesirable substances)

พืชทางเลือกที่มีอนาคต (Future crop) โกโก้ และ กาแฟ เป็นต้น

ข้อมูลจาก รศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ระบุว่า โกโก้ (Cocoa) เป็นอีกพืชเศรษฐกิจของอาเซียน เพราะมีการปลูกกันหลายประเทศ เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปฟินส์ เวียดนาม และไทยสำหรับประเทศไทย หากต้องการผลักดันสินค้านี้ รัฐบาลต้องรวบรวมข้อมูลโกโก้ทั้งหมด ตั้งคณะกรรมการโกโก้ แห่งชาติ (Thailand Cocoa Board) เพื่อดูแลโกโก้ทั้งระบบ ควบคุมมาตรฐาน ได้แก่ พันธุ์ และคุณภาพของผลผลิต  และจัดทำแผนโปรโมท เช่น จัดเทศกาลช็อกโกแลตแบรนด์ไทย สนับสนุนการออกร้าน Cocoa Cafe

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ประชุมหารือกับภาคเอกชน เรื่อง พืชทางเลือกที่มีอนาคต (Future crops) กรณี โกโก้ โดย ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบายให้ส่งเสริมการปลูกพืชที่มีอนาคต โดยเฉพาะการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า เพราะมีตลาดรองรับอยู่แล้ว ประเทศไทยยังมีความต้องการโกโก้อีกจำนวนมากเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหารเครื่องดื่ม อาหารเสริม เครื่องสำอางและเวชภัณฑ์ จึงเป็นพืชอนาคตของไทยอีกชนิดหนึ่งที่สามารถปลูกทดแทนการนำเข้า สามารถปลูกได้เกือบทุกภาค

ธุรกิจกาแฟ 5 Segment มาแรง ปี 2021

สถานการณ์การระบาดของไวรัส “โควิด-19” ในปี ค.ศ. 2020 ทำให้โลกต่างออกไปจากเดิม วิถีชีวิตของผู้คนก็เปลี่ยนไปอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการเดินทาง การทำงาน การดื่มการกิน และการใช้ชีวิตประจำวัน สำหรับ “ธุรกิจกาแฟโลก” โดยภาพรวมตลอดปี ค.ศ. 2020 กลับไม่ได้รับกระทบมากนัก ที่โดนหนักหน่อยก็เห็นจะเป็นร้านกาแฟ แต่ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกัน โดยเฉพาะอุปกรณ์ชงกาแฟและเมล็ดกาแฟคั่วบด กลับเติบโตสวนกระแส ตามพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป เข้าร้านกาแฟน้อยลง หันไปชงดื่มเองที่บ้าน

  • กาแฟพร้อมดื่ม ปักหมุดบนจุดสูงสุด ตลาดกาแฟพร้อมดื่ม (ready-to-drink coffee) ในยุโรป เป็นอีกธุรกิจเครื่องดื่มกาแฟที่มีอัตราเติบโตสูงมากในช่วง 2-3 ปีหลัง โดยมีปัจจัยเชิงบวกจากการระบาดของไวรัส “โควิด-19” ที่ทำให้คนเข้าร้านกาแฟน้อยลง หันมาซื้อกาแฟพร้อมดื่มตามซูเปอร์มาร์เก็ตมากขึ้น
  • ในตลาดสหรัฐอเมริกานั้น ได้รับแรงกระตุ้นจากเครื่องดื่มกาแฟที่ท็อปฟอร์ม และได้รับความนิยมอย่างสูง 2 ตัว คือ กาแฟสกัดเย็น (cold brew) และกาแฟไนโตร (nitro coffee) ซึ่งตัวแรกนั้นมีการนำมาบรรจุขวดขายอย่างกว้างไปทั่วโลก ส่วนตัวหลังนิยมนำมาใส่กระป๋องจำหน่าย กาแฟพร้อมดื่มทั้งแบบบรรจุขวด กระป๋อง หรือกระทั่งแบบใส่ถุงพลาสติกหนา ซื้อหาได้สะดวกง่ายดาย ไม่ว่าจะเป็นตามร้านสะดวกซื้อในปั๊มน้ำมัน ซูเปอร์มาร์เก็ต ตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ ร้านคาเฟ่ทั่วไป หรือแม้แต่เว็บค้าปลีกออนไลน์
  • สมาคมกาแฟแห่งสหรัฐ เปิดเผยข้อมูลเมื่อเร็วๆ นี้ว่า อุปกรณ์ชงกาแฟแบบแก้วเดียว มียอดจำหน่วยเพิ่มขึ้นถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19 ตามมาด้วยอุปกรณ์ชง กาแฟดริป ที่มีตัวเลขเพิ่มขึ้นประมาณ 24 เปอร์เซ็นต์ อีกประเภทของอุปกรณ์ชงกาแฟแบบแก้วเดียวที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ก็ได้แก่ กาแฟแคปซูล และ กาแฟพ็อด

ที่มาข้อมูล

ระบบสารสนเทศความรู้อาหารอนาคต http://fic.nfi.or.th/futurefood/index.php

คม ชัด ลึก https://www.komchadluek.net/news/economic/423317

SME in Focus https://www.bangkokbanksme.com/en/cocoa-agriculture-economy

กรุงเทพธุรกิจ https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/914654

 5,375 ผู้เข้าชมทั้งหมด,  2 ผู้เข้าชมวันนี้

Leave a comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *