สาขาวิชาเทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการ

ประวัติความเป็นมาของสาขาวิชาเทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการ

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา 10 ปี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษา ตรัง มีการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนความเข้มแข็งทางด้านวิชาการอยู่เสมอมา โดยในปีการศึกษา 2553 ได้เปิดการเรียนการสอนหลักสูตรอุตสาหกรรมอาหารและการบริการขึ้น เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่ชุมชนในภาคใต้ ต่อมาจึงได้พัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัย เหมาะสมกับความต้องการของตลาดและสถานประกอบการซึ่งเป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติขึ้นเป็น “หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการ” เพื่อผลิตบัณฑิตอันพึงประสงค์ครอบคลุมทั้งด้านวิชาการและคุณธรรมจริยธรรม สร้างประโยชน์ให้แก่องค์กร ชุมชน และประเทศต่อไป

รายละเอียดหลักสูตร (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2560)

 1. ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย: หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการ
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Science Program in Culinary Technology and Service

2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ภาษาไทยชื่อเต็ม : วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการ)
ชื่อย่อ : วท.บ.(เทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการ)
ภาษาอังกฤษชื่อเต็ม : Bachelor of Science (Culinary Technology and Service)
ชื่อย่อ : B.Sc. (Culinary Technology and Service)

 3. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

142 หน่วยกิต

4. รูปแบบของหลักสูตร

4.1 รูปแบบ: หลักสูตรระดับปริญญาตรี 4 ปี
4.2 ภาษาที่ใช้: ภาษาไทย
4.3 การรับเข้าศึกษา: รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติที่สามารถเข้าใจและสื่อสารภาษาไทยได้เป็นอย่างดี

5. ปรัชญาของหลักสูตร

ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้และทักษะในการประกอบอาหารและการจัดบริการอาหารทั้งในระดับครัวเรือนและอุตสาหกรรม มีจรรยาบรรณวิชาชีพ สามารถบูรณาการและประยุกต์เทคโนโลยีมาผลิตอาหารได้อย่างมีคุณภาพ ปลอดภัย ตามมาตรฐานระดับประเทศและระดับสากล

6. วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

6.1 มีความรู้ ความเข้าใจในวิทยาศาสตร์การประกอบอาหาร ศิลปะการประกอบอาหาร การบริหารจัดการและการบริการอาหาร
6.2 ประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อพัฒนางานด้านอาหารและการบริการให้เป็นไปตามมาตรฐานทั้งในและต่างประเทศ
6.3 มีความสามารถในการสื่อสารเพื่อปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6.4 มีบุคลิกภาพดีและมีจิตบริการ
6.5 มีคุณธรรม จริยธรรมในการประกอบวิชาชีพทางการประกอบอาหารและการบริการ

7. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

7.1 เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านการผลิตและบริการอาหาร ในอุตสาหกรรมบริการอาหาร*
7.2 เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการขายสินค้าในอุตสาหกรรมบริการอาหาร*และโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร**
7.3 ผู้แทนจำหน่ายสินค้าในอุตสาหกรรมบริการอาหาร*และโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร**
7.4 อาจารย์/นักวิชาการด้านการผลิตและการบริการอาหาร
7.5 ประกอบอาชีพอิสระด้านอาหาร ได้แก่ นักเขียน นักวิจารณ์อาหาร เป็นต้น
7.6 ผู้ประกอบการด้านการผลิตอาหารและการบริการอาหาร

หมายเหตุ
*   อุตสาหกรรมบริการอาหาร   หมายถึง ร้านอาหาร ภัตตาคาร โรงแรม โรงพยาบาล ครัวกลาง ครัวสายการบิน เรือสำราญ รถไฟ และรถทัวร์
**   โรงงานอุตสาหกรรมอาหาร หมายถึง โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร

8. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

8.1 สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญ หรือเทียบเท่า
8.2 ต้องเป็นผู้มีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจไม่เจ็บป่วยหรือเป็นโรคติดต่อร้ายแรงหรือมีความผิดปกติที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาและมีความ พร้อมที่จะพัฒนาตนเองให้มีบุคลิกภาพดีเหมาะสมกับงานด้านการผลิตและบริการอาหาร
8.3 สำหรับนักศึกษาต่างชาติ ต้องผ่านการสอบวัดระดับความรู้ความเข้าใจ และความสามารถในการสื่อสารภาษาไทย ตามประกาศของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต
8.4 เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ว่าด้วย การจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2559 และเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

9. อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา

รายละเอียดเพิ่มเติมอัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา นักศึกษาระดับปริญาตรีภาคปกติDownloa

ประวัติความเป็นมาของสาขาวิชาเทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการ

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา 10 ปี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษา ตรัง มีการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนความเข้มแข็งทางด้านวิชาการอยู่เสมอมา โดยในปีการศึกษา 2553 ได้เปิดการเรียนการสอนหลักสูตรอุตสาหกรรมอาหารและการบริการขึ้น เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่ชุมชนในภาคใต้ ต่อมาจึงได้พัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัย เหมาะสมกับความต้องการของตลาดและสถานประกอบการซึ่งเป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติขึ้นเป็น “หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการ” เพื่อผลิตบัณฑิตอันพึงประสงค์ครอบคลุมทั้งด้านวิชาการและคุณธรรมจริยธรรม สร้างประโยชน์ให้แก่องค์กร ชุมชน และประเทศต่อไป

รายละเอียดหลักสูตร (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2560)

 1. ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย: หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการ
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Science Program in Culinary Technology and Service

2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ภาษาไทยชื่อเต็ม : วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการ)
ชื่อย่อ : วท.บ.(เทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการ)
ภาษาอังกฤษชื่อเต็ม : Bachelor of Science (Culinary Technology and Service)
ชื่อย่อ : B.Sc. (Culinary Technology and Service)

 3. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

142 หน่วยกิต

4. รูปแบบของหลักสูตร

4.1 รูปแบบ: หลักสูตรระดับปริญญาตรี 4 ปี
4.2 ภาษาที่ใช้: ภาษาไทย
4.3 การรับเข้าศึกษา: รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติที่สามารถเข้าใจและสื่อสารภาษาไทยได้เป็นอย่างดี

5. ปรัชญาของหลักสูตร

ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้และทักษะในการประกอบอาหารและการจัดบริการอาหารทั้งในระดับครัวเรือนและอุตสาหกรรม มีจรรยาบรรณวิชาชีพ สามารถบูรณาการและประยุกต์เทคโนโลยีมาผลิตอาหารได้อย่างมีคุณภาพ ปลอดภัย ตามมาตรฐานระดับประเทศและระดับสากล

6. วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

6.1 มีความรู้ ความเข้าใจในวิทยาศาสตร์การประกอบอาหาร ศิลปะการประกอบอาหาร การบริหารจัดการและการบริการอาหาร
6.2 ประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อพัฒนางานด้านอาหารและการบริการให้เป็นไปตามมาตรฐานทั้งในและต่างประเทศ
6.3 มีความสามารถในการสื่อสารเพื่อปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6.4 มีบุคลิกภาพดีและมีจิตบริการ
6.5 มีคุณธรรม จริยธรรมในการประกอบวิชาชีพทางการประกอบอาหารและการบริการ

7. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

7.1 เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านการผลิตและบริการอาหาร ในอุตสาหกรรมบริการอาหาร*
7.2 เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการขายสินค้าในอุตสาหกรรมบริการอาหาร*และโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร**
7.3 ผู้แทนจำหน่ายสินค้าในอุตสาหกรรมบริการอาหาร*และโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร**
7.4 อาจารย์/นักวิชาการด้านการผลิตและการบริการอาหาร
7.5 ประกอบอาชีพอิสระด้านอาหาร ได้แก่ นักเขียน นักวิจารณ์อาหาร เป็นต้น
7.6 ผู้ประกอบการด้านการผลิตอาหารและการบริการอาหาร

หมายเหตุ
*   อุตสาหกรรมบริการอาหาร   หมายถึง ร้านอาหาร ภัตตาคาร โรงแรม โรงพยาบาล ครัวกลาง ครัวสายการบิน เรือสำราญ รถไฟ และรถทัวร์
**   โรงงานอุตสาหกรรมอาหาร หมายถึง โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร

8. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

8.1 สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญ หรือเทียบเท่า
8.2 ต้องเป็นผู้มีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจไม่เจ็บป่วยหรือเป็นโรคติดต่อร้ายแรงหรือมีความผิดปกติที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาและมีความ พร้อมที่จะพัฒนาตนเองให้มีบุคลิกภาพดีเหมาะสมกับงานด้านการผลิตและบริการอาหาร
8.3 สำหรับนักศึกษาต่างชาติ ต้องผ่านการสอบวัดระดับความรู้ความเข้าใจ และความสามารถในการสื่อสารภาษาไทย ตามประกาศของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต
8.4 เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ว่าด้วย การจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2559 และเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

9. อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา

รายละเอียดเพิ่มเติมอัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา นักศึกษาระดับปริญาตรีภาคปกติDownloa

 2,624 ผู้เข้าชมทั้งหมด,  4 ผู้เข้าชมวันนี้