เมืองอัจฉริยะ “ศรีตรัง” Sri Trang SMART CITY

  “เมืองอัจฉริยะ” หมายความว่า เมืองที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยและชาญฉลาด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการและการบริหารจัดการเมือง ลดค่าใช้จ่ายและการใช้ทรัพยากรของเมืองและประชากรเป้าหมาย โดยเน้นการออกแบบที่ดี และการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจและภาคประชาชนในการพัฒนาเมือง ภายใต้แนวคิด การพัฒนา เมืองน่าอยู่ เมืองทันสมัย ให้ประชาชนในเมืองมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขอย่างยั่งยืน การพัฒนาเมืองอัจฉริยะมีมิติการพัฒนาได้หลายด้าน มิติที่สำคัญ 7 ด้าน คือ 1. สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment) 2. การเดินทางและขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility) 3. การดำรงชีวิตอัจฉริยะ (Smart Living) 4. พลเมืองอัจฉริยะ (Smart People) 5. พลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy) 6. เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy) 7. การบริหารภาครัฐอัจฉริยะ (Smart Governance)

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

หลักราชการ : บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว

  1. ความสามารถ หมายความว่า อาจจะทำการงานให้เป็นผลสำเร็จได้ดียิ่งกว่าผู้ที่มีโอกาสเท่าๆกัน ความสามารถเป็นลักษณะอันหนึ่งแห่งผู้บังคับบัญชาคน
  2. ความเพียร หมายความว่า กล้าหาญไม่ย่อท้อต่อความยากและบากบั่นเพื่อจะข้ามความขัดข้องให้จงได้ โดยใช้ความอุตสาหวิริยภาพมิได้ลดหย่อน “ความเพียรเป็นเครื่องพาตนข้ามพ้นความทุกข์ ความเพียรเราได้ใช้แล้ว เราจึงได้มีวิชาความรู้ได้ถึงปานนี้ ถ้าเราไม่ได้มีความเพียรแล้ว เรามิยังคงเป็นคนโง่อยู่อย่างเดิมหรือ?
  3. ความมีไหวพริบ หมายความว่า รู้จักสังเกตเห็นโดยไม่ต้องมีใครเตือนว่าเมื่อมีเหตุเช่นนั้นๆจะต้องปฏิบัติการอย่างนั้นๆเพื่อให้บังเกิดผลดีที่สุดแก่กิจการทั่วไปและรีบทำการอันเห็นควรนั้นโดยฉับพลันทันท่วงที
  4. ความรู้เท่าถึงการ หมายความว่า รู้จักปฏิบัติกิจการ ให้เหมาะด้วยประการทั้งปวง “รู้เท่าไม่ถึงการณ์” เป็นคำติเตียนว่าเป็นความบกพร่อง
  5. ความซื่อตรงต่อหน้าที่ คือ ตั้งใจกระทำกิจการซึ่งได้รับมองให้เป็นหน้าที่ของตนนั้นโดยซื่อศัตย์สุจริต ใช้ความอุตสาหวิริยภาพเต็มสติกำลังของตนความมุ่งหมายให้กิจการนั้นๆ บรรลุถึงซึ่งความสำเร็จโดยอาการอันงดงามที่สุดที่พึงมีหนทางจัดไปได้
  6. ความซื่อตรงต่อคนทั่วไป “ป่าพึ่งเสือ เรือพึ่งพาย นายพึ่งบ่าว เจ้าพึ่งข้า” ความประพฤติซื่อตรงที่มีต่อคนทั่วไป รักษาตนให้เป็นคนควร เขาทั้งหลายจะเชื่อถือได้โดยรักษาวาจาสัตย์พูดอะไรเป็นนั่นไม่เหียนหันเปลี่ยนแปลงคำพูดไปเพื่อความสะดวกเฉพาะครั้งหนึ่งคราวหนึ่ง ไม่คิดเอาเปรียบใครโดยอาการอันเขาจะขันแข่งไม่ได้ ไม่ยกตนข่มท่าน ไม่หาดีใส่ตัวหาชั่วใส่เขา เมื่อผู้ใดมีไมตรีต่อก็ตอบแทนด้วยไมตรีโดยสม่ำเสมอ ไม่ใช้ความรักใคร่ไมตรีซึ่งผู้อื่นมีต่อเรานั้นเพื่อเป็นเครื่องประหารเขาเองหรือใครๆทั้งสิ้น
  7. ความรู้จักนิสัยคน ข้อนี้เป็นข้อสำคัญสำหรับผู้ที่มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติกิจการติดต่อกับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นผู้ใหญ่หรือผู้น้อย ต้องศึกษาและสังเกตให้รู้นิสัยความคิดความเห็น ชอบชังอะไร ประพฤติให้ต้องตามอัธยาศัยได้
  8. ความรู้จักผ่อนผัน ข้อนี้เป็นข้อสำคัญอันหนึ่ง ซึ่งปฏิบัติได้เหมาะได้ยากกว่าที่คาดหมาย เพราะฉะนั้นจึงผู้ที่ปฏิบัติได้ดีจริงๆได้น้อย มักจะเข้าใจผิดทั้ง 2 พวก พวกที่ 1 พวกเถรตรง อ้างตนว่าเป็นคนเคร่งในทางรักษาระเบียบแบบแผนไม่ผ่อนผันเสียเลย อาจเสียการงานได้ พวกที่ 2 ซึ่งเห็นว่าความผ่อนผันเป็นของสำคัญยิ่งกว่าสิ่งอื่นใด เหมือนคนซื้อลา ถูกคนเขาหัวเราะเยาะได้
  9. ความมีหลักฐาน หมายถึง 3 ประการ คือ มีบ้านเป็นสำนักมั่นคง มีครอบครัวอันมั่นคง ตั้งตนไว้ในที่ชอบ
  10. ความจงรักภักดี แปลว่า “ความยอมสละตนเพื่อประโยชน์แห่งท่าน” คือ ถึงแม้ว่าตนจะต้องได้รับความเดือดร้อนรำคาญตกระกำลำบากหรือจนถึงต้องสิ้นชีวิตเป็นที่สุดก็ยอมได้ทั้งสิ้นเพื่อมุ่งประโยชน์อันแท้จริง ให้มีแก่ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

ปัจจุบันการบริหารจัดการและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆต่อองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน เพราะ ไม่ว่าองค์การหรือองค์กรจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปในทางใด ย่อมต้องเกี่ยวข้องกับตัวบุคคลทั้งสิ้น จึงกล่าวได้ว่า ตัวชี้วัดความสำเร็จอย่างยั่งยืนขององค์การหรืองค์กรนั้นอยู่ที่คุณภาพของบุคลากรหรือคน ก่อนที่องค์การองค์กรต่างๆ จะเริ่มเห็นความสำคัญของการจัดการทรัพยากรมนุษย์นั้น ” บุคคลเคยถูกมองเห็นว่าเป็นเพียงแค่ปัจจัยการผลิต หรือให้ความสำคัญเป็นแค่แรงงานหรือกำลังคน แต่ในปัจจุบันบุคคลได้รับการนิยามใหม่ พัฒนาความสำคัญเป็น ทรัพยากรมนุษย์

การออกแบบงาน (Job Designs) งานเป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างบุคคลและองค์การองค์กร และเป็นสิ่งที่บ่งบอกลักษณะทรัพยากรบุคคลที่ต้องการ ในการกำหนดงานจะต้องพิจารณาทั้งระบบ คือ การศึกษาองค์ประกอบขององค์การองค์กร องค์ประกอบของสภาพแวดล้อม องค์ประกอบด้านพฤติกรรม และสร้างงานขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายขั้นสุดท้าย คือ การเพิ่มผลผลิตที่มีคุณภาพเกิดความพึงพอในใจการออกแบบงาน

การบริหารทรัพยากรมนุษย์ท้องถิ่น เป็นกระบวนการที่มีการดำเนินการสรรหา การคัดเลือก การบรรจุบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมให้เข้าปฏิบัติงานในองค์การองค์กร หรือชุมชน พร้อมทั้งดำเนินการธำรงรักษาและพัฒนาให้บุคลากรมีศักยภาพในการปฏิบัติงานและมีคุณภาพชีวิตการทำงานที่ดีที่เหมาะสมตลอดจนเสริมสร้างหลักประกันเมื่อพ้นจากการปฏิบัติงานด้วย กระบวนการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ตั้งแต่ การวางแผนกำลังคน การสรรหา การคัดเลือก การสัมภาษณ์ การตรวจสอบประวัติ การคัดเลือกขั้นตอนสุดท้าย การทดลองงาน การบรรจุและปฐมนิเทศ การฝึกอบรม การออกแบบโปรแกรมการฝึกอบรม การบริหารโปรแกรมการฝึกอบรม การประเมินผลการฝึกอบรม การประเมินผลการปฏิบัติงาน การจัดการและพัฒนาอาชีพ การบริหารค่าตอบแทนและผลประโยชน์เกื้อกูล ทุกกระบวนการจะยิ่งส่งเสริมประสิทธิภาพ ประสิทธิผลให้ทรัพยากรมนุษย์มีศักยภาพและเป็นทุนทางปัญญาสังคมที่สามารถเป็นมูลค่าเพิ่มในการสร้างสรรค์ผลงาน

จังหวัดตรัง มีเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาและองค์กรภาคเอกชน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 ถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษาตรัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดตรัง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตตรัง มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต จังหวัดตรัง วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีตรัง สภาอุตสาหกรรมจังหวัดตรัง หอการค้าจังหวัดตรัง มีความเห็นชอบร่วมกันโดยประสานความร่วมมือด้านการบริหารจัดการศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานอุดมศึกษา ความร่วมด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ตามมาตรฐานการศึกษาระดับอุดมศึกษา สถาบันอุดมศึกษามีพันธกิจหลักที่สำคัญ 4 ประการ คือ การผลิตบัณฑิต การวิจัย การให้บริการทางวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และมีพันธกิจอย่างน้อยอีก 5 ประการที่จะสนับสนุนให้ขับเคลื่อนพันธกิจหลักบรรลุเป้าหมายได้ คือ 1. ปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์และแผนการดำเนินการ 2.กิจกรรมพัฒนานักศึกษา 3.การบริหารและการจัดการ 4.การเงินและงบประมาณ และ 5.ระบบและกลไกการประกันคุรภาพซึ่งพันธกิจหลักและพันธกิจสนับสนุนจะต้องทำงานเชื่อมโยงบูรณาการทุกเรื่องเข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง จึงจะส่งเสริมการให้การจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษามีคุณภาพได้

“ขออภัย” อยู่ระหว่างการเพิ่มเติมข้อมูล

ข้อมูล

การส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ (depa) : https://www.depa.or.th/th/smart-city-plan

 3,460 ผู้เข้าชมทั้งหมด,  1 ผู้เข้าชมวันนี้

Leave a comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *