Disruption : Ture Disruption : Disruptor

ผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 : รศ.ดร.ศิโรจน์ ผลพันธิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยสวนดุสิต

https://www.youtube.com/watch?v=dw7opEq9-go

ภาวะผู้นำในยุคการเปลี่ยนแปลง : รศ.ดร.ชลวิทย์ เจียรจิตต์ รองอธิการบดีฝ่ายแผนฯ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ

https://www.youtube.com/watch?v=XO-4nQnZFpY

The Creative : มุมมองของนักคิด

มองโลกการทำงานในอนาคต แบบ 5 10 และ 15 ปีจากนี้ การปะทะกันของคนหลาย Generation ในสำนักงานทุกวันนี้ ที่ต่างคนต่างมีทัศนคติ ความเชื่อ เป้าหมาย และพฤติกรรมในการทำงานที่ต่างกัน อาจเป็นความท้าทายอันดับต้นๆ ขององค์กรยุคใหม่ที่ต้องก้าวให้ทันความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว เมื่อก้าวเข้าสู่ทศวรรษใหม่ที่ดูจะผ่านเราไปอย่างรวดเร็วกว่าทุกช่วงเวลาที่ผ่านมา อนาคตในการทำงาน ที่ไม่ว่าจะเป็นอนาคตที่ไกลออกไปหรือใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด และไม่ว่าคุณจะอยู่ในบทบาทไหน ทุกคนต้องก้าวออกไป แต่จะก้าวไปอย่างไรนั้น หากเราได้รู้เท่าทัน นั่นย่อมเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่เราจะได้เตรียมตัว

อนาคตสำหรับเราทุกวันนี้ต้องมองไปไกลกว่าแค่การคาดการณ์เทรนด์ เราต้องเริ่มต้นจากงานวิจัยในอดีตเพื่อที่จะวิเคราะห์ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต ทั้งในเชิงของสังคมและความเป็นอยู่ เพื่อที่เราจะได้สร้างเมืองรวมถึงผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ตอบโจทย์กับวิถีชีวิตของคนในอนาคตจริงๆ การมีกรอบความคิด กรอบการทำงาน ในการดูและติดตาม ไม่ว่าจะเป็นประเด็นทางด้านกฎหมาย การเมือง การปกครอง และเทคโนโลยี

เราคาดการณ์อนาคตไปก็เพื่อตอบสนองความต้องการของคน ในขณะที่ทุกวันนี้ในที่ทำงานแต่ละแห่งถือว่ามีคนหลาย Generation มากเราก็จะเห็นกันอยู่บ้างว่า คนเจนเอ็กซ์กับเจนวาย (Generation X & Generation Y) มีจำนวนมาก มีความใกล้เคียงกันในช่วงวัย เจนเอ็กซ์จะไปเปลี่ยนระบบมากก็ไม่ได้ เพราะเรายังมีรุ่นเบบี้บูมเมอร์ที่เคารพ มีการคาดการณ์ไว้ว่าในช่วง 10 ปี ของอนาคตของการทำงานมันจะยังอยู่ในช่วงที่เราเรียกว่า The Battle of X and Y กับเบบี้บูมเมอร์ ด้วยเหตุที่ว่าเราอยู่ในการทำงานร่วมกันทั้งหมด

หรือการที่เราเคยคิดว่าคนเจนวาย (Generation Y) คือ Disruptor คือ ผู้ที่สร้างจุดเปลี่ยน ผู้ก่อกวน หรือ ผู้ทำลาย แต่สำหรับเรา เราคิดว่าไม่ใช่ เราคิดว่าเขา คือ Explorer (นักสำรวจ) ต้องการที่จะทดลอง อยากออกจากขอบเขตหรือโดเมนที่เขาอยู่ แต่คนที่จะเป็น Disruptor ตัวจริง คือ คนเจนซี (Generation C )ขึ้นไป “เจนเนอเรชั่น ซี” โดยเป็นการรวมกลุ่มประชากรใน “Gen Y” และ ”Gen Z” เข้าด้วยกัน

และหลังจาก 20 ปี ต่อจากนี้ เราน่าจะเห็น True Disruprion คือ การเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง และในวันนี้การเปลี่ยนแปลงที่ความชันไม่ได้ชันมากนัก เหตุเพราะว่า ถึงแม้คนเจนวาย (Generation Y) อยากจะเปลี่ยน แต่เรายังมีกรอบแห่งกฎหมายที่จำเป็นต่อวัฒนธรรม ประเพณีที่ดีงาม ที่ทำให้ไม่สามารถทะลุออกไปได้แม้เราจะมีโดรน ดังนั้น การพิพาทกันต้องหาความสมดุลร่วมกันอยู่

การปรับตัวให้ทันกับการ Disrupt ของเทคโนโลยีต่างๆ ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงงานหรือองค์กร ประเด็นแรกถ้าเกิดมีการเปลี่ยนแปลง สิ่งที่ควรทำ คือ การรีบเข้าไปเรียนรู้ เวลาที่มีอะไรใหม่ๆเข้ามา สื่อมักจะมีความสำคัญในการส่งสาร และถ้ามองแบบองค์รวม จะรู้ว่ามีเทคโนโลยีสร้างงานใหม่ มันสามารถสร้างผลทางบวกได้มากขึ้น ใช้คำว่า “Net Positive Jobs”

กระบวนการเปลี่ยนจากแรงงานที่จะไม่มีงานแน่ๆ ไปสู่งานในอนาคต จะเกิดขึ้นได้อย่างไร : จะต้องเริ่มต้นที่ตัวเอง สิ่งแรกที่ควรต้องทำ คือ ต้องรู้จักเรียนรู้ให้เป็นก่อน เช่น

  • การเรียนออนไลน์ที่มีหลักสูตรทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อพัฒนา SkillsFuture
  • ให้ความสำคัญต่อการสร้าง new skill, re skill และ up skill เพื่อเตรียมความพร้อมกับ skill set
  • ในระดับองค์กรเพิ่มการมีกระบวนการแบ่งปันองค์ความรู้ให้เป็นระบบ
  • เป็นตัวกลางการเรียนรู้และสนับสนุนส่งเสริมการเรียนรู้ใหม่ๆ
  • การให้เหรียญรางวัล หรือ ประกาศคุณวุฒิ เป็นเครดิตให้คนเรียนรู้ เพื่อเอาไปทำอย่างอื่นต่อ
  • เปลี่ยนสถานที่เดิมให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทั้งเก่าและใหม่เพื่อคิดกิจกรรมดีๆ (Co-Working Splace)
  • ริเริ่มการบรรจุทักษะจำเป็นที่ต้องเรียนในระบบคุณภาพ เช่น การย้อนกลับมาเรียนอะไรที่เป็นทักษะพื้นฐานที่ไม่เคยเรียนมาก่อน
  • พัฒนาตนเองถึงวัยเกษียณ หรือจะต่อยอดไปถึงสังคมผู้สูงวัยที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี

แปลว่า แรงงาน คนทำงานยุคใหม่ต้องมีทักษะสำหรับอนาคต จึงจะอยู่รอดได้ในองค์กร

“เป็นคนที่สามารถตัดสินใจได้แล้ว เขาไม่จำเป็นจะต้องเรียนรู้เพิ่ม คนอื่นต่างหากที่ต้องเรียนรู้ให้ทันเขา มันก็เลยมาสอดคล้องกับงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ทำ คือ ในช่วง 5 ปี ข้างหน้า แรงงานกลุ่มไหนที่มีความเสี่ยงจาก Digital Disruption และความเสี่ยงในเชิงเศรษฐกิจมากที่สุด ซึ่งปรากฎว่า คือ กลุ่มคนที่มีอายุ 40-55 ปีขึ้นไป ที่มีความเสี่ยงสูง”

ทักษะไหนบ้างที่เราควรจะมีเพื่อลดความเสี่ยงในการทำงานและการใช้ชีวิตนับต่อจากนี้

เราต้องมองสองด้าน ทั้งความรู้ทางธรรม ความดี ความชั่ว และความรู้ทางโลกแห่งการพัฒนาทักษะ ด้านหนึ่ง คือ Hard Skill หรือทักษะที่ตอบโจทย์กับงานนั้นๆได้ ซึ่งหากถามถึง Hard Skill ในแต่ละปี คำตอบก็จะต่างกันออกไป แต่ในอีกด้านหนึ่ง คือ Soft Skill หรือ ทักษะที่ทำให้คุณทำงานนั้นได้ดี ปรับตัวดี ปรับใจดี ปรับอารมณ์ดี ถ้าถามเมื่อ 5 ปีที่แล้ว กับ ถามใหม่ปีนี้ ก็ยังคงมีคำตอบบางคำตอบที่เหมือนกันและใช้ได้อยู่ เช่น

  1. ความสามารถในการเรียนรู้สิ่งใหม่ (Learning Ability) และ การไม่ยึดติดกับความรู้หรือความเชื่อเดิมมากไป (Unlearning Ability) คือ รู้ได้ก็ต้องสามารถเลิกรู้ในสิ่งเก่าได้ ไม่เช่นนั้นก็จะกลายเป็นติดกรอบแบบเดิมๆ
  2. การสื่อสารและการทำงานร่วมกับผู้อื่น จะเป็นส่วนที่คลาสสิคมากๆ เพราะ มันชัดเจน ว่า ศาสตร์และศิลป์ วิทยาการต่างๆ ได้เกิด การบูรณาการกัน น้อยคนนักที่จะรู้ทุกอย่างแบบลึกซึ้งในเวลาเดียวกัน เราอาจจะรู้ลึกๆ หนึ่งเรื่อง เราจึงต้องสามารถทำงานร่วมกับคนอื่นให้ได้
  3. ความคิดสร้างสรรค์ในเชิงไอเดีย การแก้ปัญหาใหม่ การแก้ปัญหาที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ซึ่ง Soft Skill 3 อย่างนี้ เป็นทักษะสำคัญในทุก Gen ที่กำลังจะเข้ามาเป็นกำลังของชาติ สร้างพลัง และเกิดแรงเกิดงานหลักของประเทศ

“เป้าหมายขององค์กรยุคใหม่ที่ควรจะมีเพื่อที่จะประคับประคองตัวเองต่อไปได้ในอนาคต คือ ความยั่งยืน เพราะฉะนั้น ก็ต้องทำให้คนมีความรู้และเพิ่มขีดความสามารถมากขึ้น แล้วอนาคตของการทำงาน ในอีก 5 ปี 10 ปี 15 ปี จะต้องวางแผนให้ตัวเอง หรือแม้แต่ให้ลูกหลานที่จะเติบโตขึ้นมา เราก็จะเห็นแนวทางแล้วว่าโลกจะเป็นไปแบบไหน เราควรจะวางแผนไปในทางใดถึงจะดีที่สุด”

“เรามีห้องเพื่อไปเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เรามีห้องหรือพื้นที่ในการประชุมหรือทำงานบางอย่างร่วมกัน และมีพื้นที่ประจำสำหรับตัวเองและพื้นที่ข้างนอกแต่ไม่ได้เป็นที่ประจำ เราทำงานที่ไหนก็ได้ และงานต้องสำเร็จภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด คุณค่าหลักที่เราควรยึดถือสำหรับการทำงานในวันนี้ ความรับผิดชอบต่อองค์กรและสังคม รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์กรทั้งหมด เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก เราอยากได้ คนเก่งก็ใช่ แต่ถ้าคนเก่งคนนั้นมีแง่ความรับผิดชอบต่อสังคมและองค์กรที่ไม่ถูกต้อง คนนั้นจะมีโอกาสที่จะถูกออกจากองค์กรคนแรก เพราะ ทักษะทีี่ดีทั้งหมด เราสอนได้ เรียนรู้ได้ แต่ การได้ เกรด 4.00 มาจากมหาวิทยาลัย ไม่ค่อยสำคัญแล้ว และในส่วนของความรับผิดชอบต่อสังคม นั้นคือ สิ่งที่อยู่ข้างในจิตใจ

Digital Disruption

Digital Disruption การเปลี่ยนแปลงและการปรับตัว คือ อะไร ความหมายแบบตรงตัว คือ การเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันทันทีด้วยดิจิทัล ขยายความได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีดิจิทัลที่พัฒนาขึ้นถึงจุดที่สร้างนวัตกรมมใหม่ให้เกิดขึ้น ทั้งผลิตภัณฑ์ แพลตฟอร์ม หรือ โมเดล และเกิดผลกระทบต่อมูลค่าของสินค้า บริการ หรือผลิตภัณฑ์เดิมที่มีในตลาด

การมาถึงของนวัตกรรมดิจิทัล บางครั้งถูกมองเป็น Digital  Disruption ซึ่งมีการถกเถียงกันเป็นวงกว้าง บ้างมองว่าเป็นโอกาสในการพัฒนาสู่สิ่งใหม่ๆ ในขณะที่อีกส่วนหนึ่งมองว่าเป็นการทำให้โครงสร้างเศรษฐกิจสังคมแบบดั้งเดิมเดิมถูกทำลายลง 

  • Digital Disruption คือการเกิดขึ้นของนวัตกรรมใหม่ที่เปลี่ยนรูปแบบ วิธีการ รวมถึงพฤติกรรมของคนในสังคมใดสังคมหนึ่งไปอย่างฉับพลัน
  • โมเดลของนวัตกรรมที่ถือเป็น Disruptive ต้องทำให้เกิด 3 สิ่งขึ้น คือ เกิดผลลัพธ์จากรูปแบบหรือโมเดลนั้น สามารถตีตลาดใหม่ได้ และเกิดขึ้นบนพื้นฐานของความเป็นดิจิทัล (Digital Based Model)
  • การเกิด Digital Disruption เป็นไปได้ใน 3 โมเดล คือการเปลี่ยนความต้องการของตลาด เปลี่ยนการใช้จ่าย และเปลี่ยนการติดต่อสื่อสาร
  • เมื่อโมเดลของ Digital Disruption ประสบความสำเร็จ จะสร้างผลลัพธ์ 3 ข้อคือ เกิดการเปลี่ยนแปลงในตลาด เกิดการเปลี่ยนแปลงในวัฏจักรและการหมุนเวียนในตลาด และเกิดการเปลี่ยนแพลตฟอร์มการให้บริการ สิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อโมเดลธุรกิจดั้งเดิม ที่จะถูกทำลายลง

Highlight 

  • พื้นที่การเกษตรในการผลิตอาหารจะลดลง ในขณะที่ความต้องการอาหารมากขึ้น นวัตกรรมด้านอาหารจึงกลายเป็นสิ่งจำเป็น
  • โปรตีนจากแมลง (Insect-based Protein) และพืช (Plant-based Protein) จะได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะมีความ Sustain มากกว่าโปรตีนจากเนื้อสัตว์ทั่วไป 
  • แรงกระเพื่อมทางสังคมที่สำคัญคือ Active Citizen ที่เห็นปัญหาจากการรับประทานเนื้อสัตว์ เสียงเรียกร้องต่างๆ จะส่งผลกระทบให้โปรตีนทางเลือกได้รับความสำคัญมากขึ้น
  • ทุกคนจำเป็นต้องกินอาหารเพื่อดำรงชีวิตโดยมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงมาตามยุคตามสมัย และปัจจุบันก็เป็นอีกจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้อาหารของโลกอาจพลิกโฉมจากหน้ามือเป็นหลังมือในอนาคต
  • ภายใต้การพัฒนาด้านอาหาร ตัวอาหารบางประเภทอาจมีองค์ประกอบบางอย่างเพิ่มสูงขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคเฉพาะกลุ่ม เช่น อาหารที่มีแคลเซียมสูงเพื่อแม่ที่ให้นมลูก อาหารที่มีโปรตีนเพื่อผู้ออกกำลังกาย อาหารบำรุงสมองสำหรับคนทำงานติดหน้าจอ
  • อุตสาหกรรมอาหารของไทย ถือเป็นข้อได้เปรียบอย่างมาก ไม่ว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร คนย่อมต้องสรรหาอะไรเพื่อรับประทาน หากเราสามารถกำหนดยุทธศาสตร์ประเทศได้ดีและได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ประเทศไทยอาจเปลี่ยนเป็นหนึ่งในมหาอำนาจทางอาหารของโลกได้

เปลี่ยนโลกธุรกิจอาหาร

ซูเปอร์มาร์เก็ตจะขายเมนูเนื้อสุดฉ่ำจากแมลง คาเฟ่แถวบ้านจะใช้หุ่นยนต์ชงกาแฟแทนบาริสต้า หรือภัตตาคารที่เลิกใช้พนักงานเสิร์ฟอาหาร นี่เป็นตัวอย่างความเปลี่ยนแปลงของธุรกิจอาหารที่เราอาจได้เห็นในอนาคตอันใกล้ จากความก้าวหน้าของ “เทคโนโลยีและนวัตกรรมอาหารและเครื่องดื่ม (FoodTech)” ซึ่งไม่เพียงแค่สินค้าประเภทใหม่ๆ ที่เราจะได้ลิ้มลองเท่านั้น แต่ FoodTech ยังรวมไปถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อยกระดับกรรมวิธีการผลิต การจัดจำหน่าย ตลอดจนการให้บริการธุรกิจร้านอาหาร ให้มีประสิทธิภาพและตอบโจทย์ความต้องการของตลาดมากกว่าที่เคย

  • PROTEIN ALTERNATIVE ‘โปรตีนทางเลือก’ จากธรรมชาติ
  • SYNTHETIC FOOD ‘อาหารสังเคราะห์’ แห่งโลกอนาคต
  • PRECISION FOOD DESIGN ‘ดีไซน์อาหาร’ พิชิตปัญหาสุขภาพ
  • FOOD SUPPLY CHAIN AUTOMATION ยุค ‘ออโตเมชัน’ จากโรงงานถึงโต๊ะอาหาร
  • RESTAURANTTECH มิติใหม่ ‘บริการธุรกิจร้านอาหาร’

บทความและปรัชญา

ไม่จำกัดตัวเอง ไม่หยุดพัฒนา เส้นทางสู่การเป็น ครัวของโลก ยังเปิดรอธุรกิจไทยอยู่แน่นอน ; ธนินท์ เจียรวนนท์ ความสำเร็จดีใจได้วันเดียว

ความจริงอันประเสริฐแล้ว ความรู้แจ้งแห่งสรรพสิ่งทั้งปวง ; คัมภีร์ เต๋า เต๋อ จิง

สิ่งทั้งปวงเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เด็ดขาดสิ้นเชิงลงไปจริงๆแล้วนั้น ย่อมหมายถึงที่สุด ของความรู้ และการปฏิบัติ เพราะว่าความรู้นั้นเองเป็นตังทำลายกิเลสไปในตัวจนหมดไปในตัวฯ และความหลุดพ้น ที่เรียกว่า นิพพิทา วิราคะ และวิมุตติ นั้น ย่อมเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ อันเป็นการรู้ผลของการหมดกิเลสไปในตัว ; พุทธทาสภิกขุ คู่มือมนุษย์ฉบับปฏิบัติธรรม

ทุกข์มีอยู่ ต้องรู้เท่าทัน สุขคือจุดหมาย ต้องไปถึงให้ได้ทุกวัน หยั่งถึงเหตุปัจจัย รู้จักดำเนินการให้สำเร็จลุจุดหมาย แก้ปัญหาดับทุกข์ได้ ทำจิตใจให้เป็นอิสสระ มีความสุขที่ไร้ทุกข์ เข้าถึงนิพพานสุข ; ป.อ.ปยุตโต เติมสุขละทุกข์ ธรรมะชำระใจ

ยังมีความสุขอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งแม้จะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ แต่อยู่นาน ยั่งยืน และก่อให้เกิดความอิ่มเอมหรือเติมเต็มจิตใจได้มากกว่า นั่นคือ ความสุขที่เกิดจากการทำสิ่งดีๆทที่มีคุณค่าต่อจิตใจ ; พระไพศาล วิสาโล D.I.Y Your Heart

ขอขอบคุณ ข้อมูล

นิตยสารส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ผลักดันเศรษฐกิจไทย โดย CEA “นิตยสารคิด” (สัมภาษณ์ ดร.การดี เลียวไพโรจน์)

บทความนักลงทุน https://www.peerpower.co.th/blog/investor/digital-disruption/

2030 จับตาอนาคตอาหารโลก https://blog.pttexpresso.com/future-food-2030/

เทรนด์ “FOODTECH” เปลี่ยนโลกธุรกิจอาหาร https://www.nia.or.th/FoodTechTrends

 5,931 ผู้เข้าชมทั้งหมด,  1 ผู้เข้าชมวันนี้

Leave a comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *