ประวัติความเป็นมาของสาขาวิชาการท่องเที่ยว
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยว ได้ปรับปรุงหลักสูตรมาจากสาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ ซึ่งเป็นสาขาวิชาที่ศูนย์การศึกษา ตรัง ดำเนินการจัดการเรียนการสอนมาตั้งแต่ปีการศึกษาแรกของการเปิดศูนย์ฯ เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ.2545 โดยดำเนินงานภายใต้พันธกิจของการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยครบทั้ง 4 พันธกิจ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการสู่ชุมชน และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เป็นต้น โดยมีการบริหารจัดการด้านวิชาการด้วยระบบกลไกเดียวกับเดียวกับในมหาวิทยาลัย โดยในช่วงแรกของการจัดการเรียนการสอน ศูนย์ได้มีการบริหารจัดการด้านอาจารย์โดยการนำอาจารย์ผู้สอนในรายวิชาต่าง ๆ จากในมหาวิทยาลัยมาร่วมเป็นผู้สอนในศูนย์ฯ ทั้งนี้เนื่องจากศูนย์ฯ ได้ดำเนินงานตามคำขวัญของมหาวิทยาลัย ที่ว่า “อยู่ที่ไหนก็เรียนได้ ภายใต้มาตรฐานเดียวกัน” สาขาวิชาฯ ได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนจนกระทั่งปีการศึกษา 2555 ได้ปิดรับนักศึกษาชั่วคราว เนื่องจากอยู่ระหว่างการปรับปรุงหลักสูตร รวมทั้งมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของมหาวิทยาลัย โดยตั้งโรงเรียนการเรือน และโรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ ขึ้นมาใหม่ มีสถานะเทียบเท่ากับคณะ เพื่อสร้างจุดเน้นที่เป็น อัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยขึ้นอย่างชัดเจน ในปีการศึกษา 2559 ศูนย์ตรังฯ จึงเปิดรับสมัครนักศึกษาอีกครั้ง โดยการจัดการเรียนการสอนในด้านที่เป็น อัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย ให้ได้มาตรฐานทัดเทียมมหาวิทยาลัยชั้นนำ และให้ผู้เรียนสามารถแข่งขันได้ในตลาดแรงงาน ไม่ว่าจะเป็นระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และปัจจุบันยังมีการปรับนโยบายและแผนกลยุทธ์ เพื่อให้สามารถก้าวต่อไปให้ทัดเทียมกับมาตรฐานในระดับนานาชาติในโลกเสรีของอาเซียนในอนาคตอันใกล้ได้
รายละเอียดหลักสูตร (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2560)
1. ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย: | หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยว |
ภาษาอังกฤษ: | Bachelor of Arts Program in Tourism |
2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ภาษาไทยชื่อเต็ม : | ศิลปศาสตรบัณฑิต (การท่องเที่ยว) |
ชื่อย่อ : | ศศ.บ. (การท่องเที่ยว) |
ภาษาอังกฤษชื่อเต็ม : | Bachelor of Arts (Tourism) |
ชื่อย่อ : | B.A. (Tourism) |
3. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
139 หน่วยกิต |
4. รูปแบบของหลักสูตร
4.1 รูปแบบ: | หลักสูตรระดับปริญญาตรี 4 ปี ตามมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม พ.ศ.2553 |
4.2 ภาษาที่ใช้: | ภาษาไทย |
4.3 การรับเข้าศึกษา: | รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ ที่สามารถพูด ฟัง อ่าน เขียน และเข้าใจภาษาไทยได้เป็นอย่างดี กรณีเป็นนักศึกษาต่างชาติ ต้องผ่านการทดสอบภาษาไทยของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต |
5. ปรัชญาของหลักสูตร
สร้างคุณลักษณะบัณฑิตทำงานด้วยจิตบริการ สืบสานคุณค่าประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรมไทย บูรณาการศาสตร์และศิลป์สู่การท่องเที่ยว พัฒนาทักษะทางด้านภาษา สอดคล้องกับมาตรฐานอาชีพในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ |
6. วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
6.1 | บูรณาการองค์ความรู้ ความเข้าใจในทักษะวิชาชีพและศาสตร์ทางการท่องเที่ยว |
6.2 | มีความรู้และความสามารถในการใช้เทคนิคพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ในการประมวลและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการวางแผน การจัดการ และการพัฒนา ทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ ได้อย่างเหมาะสม |
6.3 | สามารถพัฒนาตนเองทั้งด้านความรู้และทักษะวิชาชีพ ให้ทันสมัยเป็นไปตามสากลอย่างต่อเนื่อง |
6.4 | สามารถใช้ภาษาต่างประเทศในการนำเสนอข้อมูล รวมถึงการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ |
6.5 | มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ แสดงออกถึงคุณธรรม จริยธรรม มีจิตบริการและความรับผิดชอบต่อสังคมตามจรรยาบรรณวิชาชีพ |
6.6 | มีบุคลิกภาพดี และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ในทุกระดับอย่างเหมาะสม |
7. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
7.1 | ผู้นำเที่ยว (Tour Leader) ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา |
7.2 | มัคคุเทศก์ (Tour Guide) ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา |
7.3 | พนักงานฝ่ายปฏิบัติการ (Operation) ในบริษัทนำเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ (โดยเฉพาะกลุ่มประเทศอาเซียน) |
7.4 | พนักงานฝ่ายปฏิบัติการท่องเที่ยวในภาครัฐและองค์การบริหารส่วนตำบลและส่วนจังหวัดทั้งในระดับชาติและท้องถิ่น |
7.5 | ผู้ประกอบการด้านการนำเที่ยวและบริการในระดับธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม |
7.6 | พนักงานบริการในสายงานอื่นๆ เช่น พิพิธภัณฑ์ สโมสรกีฬา สนามบิน เรือสำราญ |
8. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
8.1 | เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า |
8.2 | มีบุคลิกภาพดี/มีสุขภาพดีและไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำงานด้านการท่องเที่ยว |
8.3 | เป็นบุคคลสัญชาติไทย |
*สำหรับนักศึกษาต่างชาติ ต้องสามารถสื่อสารภาษาไทยได้อย่างดี (การฟัง การพูด การเขียน และการอ่าน) และต้องผ่านการทดสอบภาษาไทยตามประกาศของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต |
977 ผู้เข้าชมทั้งหมด, 2 ผู้เข้าชมวันนี้